บทเพลงท้องถิ่นแม่แฮเหนือ

Read Users' Comments (0)

หมู่บ้านแม่แฮเหนือ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในอำเภอแม่แจ่ม จัดอยู่ในหมู่บ้านต้นแบบ ที่มีการเกษตร ที่หลากหลาย และส่งออกสินค้าเกษตร ผลไม้ตลอดทั้งปี
อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้าน ขยายโอกาส ทั้งการศึกษา สุขอนามัย แหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ประวัติความเป็นมา
ปี 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาอาชีพของประชากรชาวเขาหมู่บ้านแม่แฮและหมู่บ้านใกล้เคียง หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง จึงขอให้สำนักงานเกษตรภาคเหนือ เป็นผู้ดำเนินงาน “โครงการหลวงพัฒนาเกษตรที่สูงแม่แฮ” ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ” เพื่อพัฒนาชุมชนแบบผสมผสานบนพื้นที่สูงตามพระราชดำริ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มูลนิธิโครงการหลวง สำนักงานพัฒนาที่เขต 6 จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานชลประทานที่ 1 และศูนย์ปฏิบัติการ ร.พ.ช ภาคเหนือ โดยเริ่มต้นดำเนินงานในหมู่บ้านชาวเขารวม 5 หมู่บ้าน ประมาณ 190 ครอบครัว
สภาพโดยทั่วไป
ขนาดและที่ตั้ง
ตั้งอยู่ที่ บ้านแม่แฮเหนือ หมู่ที่ 3 ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ พิกัดแผนที่ 451671E 2077546N มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดประมาณ 33 ตร.กม. หรือ 20,625 ไร่ ประกอบด้วย- พื้นที่การเกษตร ประมาณ 9,853 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 47.7 ของพื้นที่ทั้งหมด- พื้นที่ที่อยู่อาศัย ประมาณ 778 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 3.87 ของพื้นที่ทั้งหมด- พื้นที่สาธารณประโยชน์ ประมาณ 130 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 0.5 ของพื้นที่ทั้งหมด - พื้นที่ป่าไม้และภูเขา ประมาณ 9,981 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 48 ของพื้นที่ทั้งหมดในส่วนของพื้นที่การเกษตร ประมาณ 9,853 ไร่ สามารถแบ่งตามลักษณะการเพาะปลูก ดังนี้- พื้นที่นา ประมาณ 1,558 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 15.8 ของพื้นที่การเกษตร- พื้นที่ไร่ ประมาณ 6,937 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 70.4 ของพื้นที่การเกษตร- พื้นที่สวน ประมาณ 1,583 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 13.8 ของพื้นที่การเกษตร
1. ด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพและการตลาด 1.1 พืชบริโภคมีการปลูกข้าวทั้งข้าวนาและข้าวไร่ ผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงระยะเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกปี ปริมาณผลผลิตข้าวนาปีเฉลี่ย 70 ถัง/ไร่ และข้าวไร่ผลผลิตเฉลี่ย 40 ถัง/ไร่ (ข้าวเปลือก 10 กก. = 1 ถัง)ผลผลิตของข้าวที่ผลิตได้ตอบสนองความต้องการบริโภคทั้งหมดประมาณร้อยละ 42พื้นที่เป้าหมาย- บ้านแม่แฮเหนือ- บ้านห้วยขมิ้นใน- บ้านแม่แฮน้อย- บ้านแม่เตียนนอก- บ้านแม่เกี๊ยะน้อยแนวทางการเพิ่มผลผลิตข้าว- การปรับปรุงขยายพื้นที่การเพาะปลูกและการปรับปรุงแหล่งน้ำ- การปรับปรุงบำรุงดินโดยเน้นอินทรีย์วัตถุ- การปรับปรุงพันธุ์ข้าวในด้านการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ 1.2 พืชรายได้ 1) พืชผักดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรจำนวน 122 ราย ปลูกพืชผัก ได้แก่ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลีแดง ซุกีนี เซลารี่ พาร์สเล่ย์ ผักกาดหางหงษ์ กะหล่ำปลีและกะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นต้น 2) ไม้ผลไม้ผลที่ศูนย์ฯ ดำเนินการสนับสนุนให้เกษตรกรจำนวน 20 ราย ปลูกในปี 2542 ได้แก่ พลับ พลัม ท้อ บ๊วย และสาลี่ แต่เกษตรกรจะนิยมปลูกสาลี่และพลับกันเป็นส่วนมาก โดยส่งผลผลิตให้ศูนย์ฯ แม่แฮ ร้อยละ 41 และร้อยละ 31 ของปริมาณไม้ผลทั้งหมด แนวทางการขยายงานส่งเสริม - พัฒนาคุณภาพผลผลิต
ปรับปรุงบำรุงดินโดยเน้นใช้อินทรีย์วัตถุ
ปรับปรุงพันธุ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด
ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้มีรสชาดและมาตรฐานถูกใจผู้บริโภค
1.3 อาชีพนอกภาคเกษตร1) รับจ้างเป็นแรงงานการเกษตร2) ช่างเครื่องยนต์ มีร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซด์ จำนวน 3 แห่ง3) ทอผ้า มีการรวมกลุ่มทอผ้า 1 กลุ่ม จำนวนสมาชิก 14 คน4) ค้าขาย มีร้านค้าในชุมชน จำนวน 23 ร้านโดยที่อาชีพช่างซ่อมเครื่องยนต์-ช่างไฟฟ้า จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากมีปริมาณของเครื่องยนต์และความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ในพื้นที่ยังขาดแคลนช่างที่มีความรู้-ความชำนาญ แนวทางการส่งเสริม ประสานงานกับโรงเรียนแม่แฮเหนือจัดอบรมอาชีพนอกภาคเกษตรอื่นๆ เช่น ช่างตัดผม, ทำผม, ซ่อมเครื่องยนต์, ช่างไฟฟ้า, ช่างวิทยุ สำหรับนักเรียนที่ไม่มีแผนจะเรียนต่อในเมือง โดยเลือกสนับสนุนเด็กนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่ยากขน มีที่ทำกินน้อย หรือไม่มีที่ทำกิน
2 ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 2.1 การปลูกป่า พื้นที่ป่า และป่าชาวบ้าน1) ได้ดำเนินการโครงการป่าชาวบ้าน จำนวน 23 ราย มีพื้นที่ปลูกประมาณ 12 ไร่2) ได้ฟื้นฟูสภาพป่า จำนวน 333 ไร่ 3) กำหนดเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนมีพื้นที่ประมาณ 1,400 ไร่ 2.2 การใช้ที่ดินได้มีการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525-2546 พื้นที่ประมาณ 3,369 ไร่ 2.3 การถือครองที่ดินการถือครองที่ดินโดยใช้พื้นที่ป่าทำการเกษตร ประมาณ 50% โดยไม่ต้องเช่าแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และในส่วนของพื้นที่นา ที่ทำกินมาตั้งแต่ดั้งเดิม ได้รับใบครอบครองพื้นที่ประเภท นส.3 จำนวน 20 ไร่ 4 ราย

กะเหรี่ยง


แหล่งข้อมูล : ข้อมูลประชากรในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง (พฤษภาคม 2546) : กลุ่มงานติดตามประเมินผล ส่วนอำนวยการและวางแผน สำนักพัฒนาเกษตรที่สูง 3.2 การศึกษา การศึกษาของประชากรในพื้นที่ศูนย์ฯ แม่แฮ ร้อยละ 43 ไม่เคยได้รับการศึกษาและร้อยละ 14 จบการศึกษาภาคบังคับในระดับชั้นประถมศึกษา และร้อยละ 9 เข้ารับการศึกษานอกระบบ (การศึกษาผู้ใหญ่) โดยสมัครเรียนในหลักสูตร กศน. เพิ่มเติมความรู้ 3.3 การสาธารณสุขและปัญหายาเสพติดในพื้นที่มีสถานบริการสาธารณสุขชุมชนเพียง 1 แห่ง คือสถานีอนามัยบ้านแม่แฮเหนือ มีเจ้าหน้าที่จำนวน 2 อัตรา มีการแพร่ระบาดของยาเสพติดคือยาบ้า ส่วนใหญ่ผู้เสพเป็นวัยแรงงานมีประมาณร้อยละ 2.4 ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ในพื้นที่ยังเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด พบว่าในกลุ่มบ้านม้งมีส่วนพัวพันทั้งการลำเลียงและเป็นผู้จำหน่ายรายย่อยในชุมชน 3.4 การรวมกลุ่มของเกษตรกร 1) กลุ่มกองทุนหมุนเวียนปัจจัยการผลิต มีสมาชิก 25 ราย2) กลุ่มฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีสมาชิก 15 หมู่บ้าน 3) กลุ่มเยาวชน สอ.ตย. มีสมาชิก 10 ราย 4) กลุ่มกองทุนหมุนเวียนผู้ปลูกไม้ผล มีสมาชิก 66 ราย 5) กลุ่มสหกรณ์การเกษตร มีสมาชิก 250 ราย 6) กลุ่มจักสานผู้สูงอายุ มีสมาชิก 20 ราย 7) กลุ่มผู้ปลูกผัก GAP มีสมาชิก 229 ราย แนวทางการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรเกษตรกรที่มีอยู่แล้วในพื้นที่โดยการให้โอกาสการดูงาน แลกเปลี่ยนแนวคิดการช่วยเหลือตนเอง พร้อมทั้งระดมปัจจัยต่างๆ อาทิ ทุนในรูปของการออมทรัพย์และสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มโดยมีข้อแม้การมีส่วนร่วมในการระดมทุนของเกษตรกรเป็นหลัก 3.5 ผลผลิตทางการเกษตร1) พืชผัก ได้แก่ ผักกาดหอมห่อ กะหล่ำปลี ซุกินี พลาสเล่ย์ กะหล่ำปลีหัวใจ ผักกาดขาวปลี ผักกาดหางหงส์ อาติโช้ค กระเทียมต้น บีทรูท ผักกาดหวาน พริกหวานเขียว โรสแมรี่ กะหล่ำปม วอเตอร์เคส ถั่วแขก คะน้าเห็ดหอม พื้นที่ปลูก 300 ไร่ เกษตรกร 217 ราย 2) ไม้ผล ได้แก่ พลัม สาลี่ พลับ บ๊วย พื้นที่ปลูก 3,999 ไร่ เกษตรกร 340 ราย 3) สตรอเบอรี่ พื้นที่ปลูก 134 ไร่ เกษตรกร 30 ราย แหล่งข้อมูล รายงานประจำปี 2547 ฝ่ายพัฒนา มูลนิธิโครงการหลวง
3.6 แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวการเกษตร ได้แก่ สวนสตรอเบอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแปลงพืชผักเมืองหนาว เช่น อาติโช๊ค พาร์สเล่ย์ ฯลฯ ที่บ้านป่าเกี๊ยะน้อย และในบริเวณศูนย์ฯแปลงไม้ผลเมืองหนาว เช่น บ๊วย พลับ สาลี่ และพืช และชิมเหล้าดองผลไม้ที่บ้านแม่แฮเหนือและบริเวณศูนย์ฯ
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ถนนทุ่งบัวตอง ถนนดอกซากุระ ยอดดอยสูง น้ำแร่ธรรมชาติที่ห้วยขมิ้นนอก
แหล่งท่องเที่ยวศึกษาวัฒนธรรม ได้แก่ การแต่งกาย เป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่าที่ยังมีให้เห็นโดยเฉพาะชาวม้ง ซึ่งจะมีลักษณะการแต่งกายที่แตกต่างกันระหว่างม้งลาย และม้งดำ
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าในใจ เช่น การทอผ้ากี่เอว การปักผ้า
แหล่งข้อมูล ข้อมูลโดยสรุป/ข้อมูลท่องเที่ยว/โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโครงการหลวง
แหล่งข้อมูล ข้อมูลศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ กรกฎาคม 2548

Read Users' Comments (0)

ลูกพลับแม่แฮเหนือ สุดยอดความอร่อย

ชั่วปลายเดือน กรกฎาคม ถึงปลายเดือนสิงหา บ้านแม่แฮคึกคักด้วยด้วยผลไม้เมืองหนาย อย่างเช่น ลูกพลับ
สนใจติดต่อ สวน อมรกิจ 0818858011

Read Users' Comments (0)